วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560

หน้าไหว้หลังหลอก จุดบอดของมนุษย์!!!

หน้าไหว้หลังหลอก...จุดบอดของมนุษย์!!!
สุนิสา นิลมูล
หัวข้อบทความนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว พบเจอและเห็นกันบ่อยในสังคมปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าคนบางคนที่เดินสวนทางกับเรายกมือไหว้เราแต่พอเราหันหลังให้มองไม่เห็นเขาแล้วเขาอาจจะด่าเราหรือนินทาเราลับหลังก็ได้นิสัยแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดาเราจะพบในสังคมในปัจจุบันผู้อ่านอาจจะตั้งข้อสงสัยใช่ไหมคะว่า สำนวน “หน้าไหว้หลังหลอก” มีความหมายว่าอย่างไรมีที่มาจากอะไร ทำไมสำนวนนี้จึงถูกมองไปในด้านลบ จากที่ผู้เขียนได้ศึกษามา พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถานพ.ศ. 2542 (2559: ย่อหน้า 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “หน้าไหว้หลังหลอก” หมายถึง คนที่มีพฤติกรรมต่อหน้าเราอย่างหนึ่ง (ดี) แต่ลับหลังเรากลับทำอีกอย่างหนึ่ง (ไม่ดี) โดยทั่วไปคนเหล่านี้จะมีลักษณะที่เรียกว่าปากไม่ตรงกับใจผสมอยู่ด้วย
สำนวนนี้ ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา (2537: 187) ได้อธิบายที่มาไว้ว่า สำนวน “หน้าไหว้หลังหลอก” เป็นสำนวนทีี่ใช้ในปัจจุบัน แต่ในสมัยโบราณจะใช้ว่า“ต่อหน้ามะพรับ ลับหลังตะโก” เป็นสำนวนเกี่ยวกับความประพฤติที่ใช้กันมานานแต่ปัจจุบันมีคนพูดน้อยลง กาญจนาคพันธุ์ ได้อธิบายที่มาของสำนวนนี้ไว้ว่า
   “มะพลับ” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง และ “ตะโก” ก็เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง สำนวนนี้เอาชื่อต้นไม้ทั้งสองมาเปรียบเทียบทางเสียง คือ “มะพลับ” เอามาเทียบทางเสียง เท่ากับ “รับ” ส่วน “ตะโก” เอาคำ “โก” มาเทียบเท่ากับ “โกหก” ต่อหน้ามะพลับ หมายความว่า ต่อหน้าก็รับ “รับ”คือ ลับว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ลับหลังตะโก หมายความว่า พอลับหลังก็โกหกไม่ทำตามที่รับไว้”
    ปัจจุบันสำนวน “ต่อหน้ามะพลับ หลับหลังตะโก” มีคนพูดกันน้อยลง โดย ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา (2537: 187) ให้เหตุผลว่า อาจจะเป็นเพราะ ไม่ค่อยเข้าใจความหมายและที่มาของสำนวน ส่วนใหญ่มักจะใช้สำนวน“หน้าไหว้หลังหลอกแทน” เพราะเข้าใจได้ง่ายกว่า หมายถึง ต่อหน้าไหว้ คือ ทำดีด้วย แต่หลับหลังหลอก คือ ไม่ทำอย่างที่พูด หรือนินทา ด่าว่า
ซึ่งสำนวนทั้งสองนี้จะมีความหมายเหมือนกัน ดังนี้
“ต่อหน้ามะพลับ หลับหลังตะโก” หมายถึง พูดกลับกลอก หลอกลวง ไม่ทำตามที่พูด หรือโกหกหลอกลวง ทำดีต่อหน้าลับหลังคิดร้าย
“หน้าไหว้หลังหลอก” หมายถึง ต่อหน้าทำอย่างหนึ่ง ลับหลังทำอีกอย่างหนึ่ง
   ผู้อ่านเห็นหรือไม่คะว่าคนประเภทนี้เป็นคนที่ไม่น่าคบหาซึ่งพฤติกรรมที่เขาแสดงออกมานั้นไม่มีแม้กระทั้งความจริงใจต่อผู้อื่น ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีหรือไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดอยู่ คนประเภทนี้ยังมีอยู่ในสังคมเราอีกมาก หากมองแค่ภายนอกเราอาจจะยังรู้นิสัยที่แท้จริง เราควรที่จะดูจากพฤติกรรมที่เขาแสดงออกแล้วใช้สติในการตัดสินคนประเภทนี้ 
     นอกจากนี้ในสังคมไทยในปัจจุบันยังมีการใช้สำนวนนี้กันอย่างแพร่หลายในโลกโซเชี่ยวไม่ว่าจะเป็นทางเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์หรือโซเชี่ยวต่างๆล้วนใช้สำนวน นี้แทนการพูดจากันตรงๆซึ่งจะเห็นได้จากข้อความที่บุคคลใช้โพสต์กันมากมายเหล่านี้

   ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าสำนวนหน้าไหว้หลังหลอกนี้เป็นสำนวนที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา เราจะเป็นเหมือนสำนวนนี้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับสติและความประพฤติที่เราจะทำว่าเราจะเลือกเป็นคนดีหรือคนไม่ดีหากเราเลือกที่จะเป็นผู้ที่มีจิตใจดีหวังดีต่อผู้อื่นย่อมจะทำให้ชีวิตของเรานั้นเจอแต่ความสุขและคนที่จริงใจแก่เราดังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวไว้ว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วนั่นเอง นอกจากนี้ การศึกษาที่มาและสำนวนของไทยเรานั้น ยังทำให้ทราบถึงความประพฤติของมนุษย์ นอกจากนี้สำนวนยังทำให้เราเข้าใจสภาพความเป็นจริงของสังคมในยุคสมัยนั้นๆความหมายของสำนวนยังทำให้เกิดความคิดสุขุมลุ่มลึกมีสติปัญญาทั้งหมดนี้ยังสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมในด้านของนิสัยและพฤติกรรมของคนในสังคมสำนวนจึงเป็นถ้อยคำที่มีคุณค่าทางภาษาอย่างยิ่ง สำนวนคือภาษา และภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย จึงควรแก่การอนุรักษ์ไว้สืบไป
เอกสารอ้างอิง
ไขสิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (2537). การเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมายของสำนวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2559). หน้าไหว้หลังหลอก. สืบค้น พฤษจิกายน 10, 2559,
จาก http://bit.ly/2fzO9s4

1 ความคิดเห็น:

Chrome Remote Desktop

Chrome Remote Desktop ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยมือถือมีจริงหรือ …?                 สุนิสา นิลมูล         สังคมในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนา...